Custom Search

บทความที่ได้รับความนิยม

Wikipedia

ผลการค้นหา

วันอังคารที่ 14 มกราคม พ.ศ. 2557

การออมเงิน และ วิธีที่จะทำให้ประสบผลสำเร็จ

การออมเงิน และ วิธีที่จะทำให้ประสบผลสำเร็จ หลายๆคนที่กำลังเริ่มคิดที่จะออมเงิน รวมทั้งหลายๆคนที่ออมเงินมานานแล้ว แต่ไม่ประสบความสำเร็จในการออมสักที วันนี้เรามีวิธีการออมมาเสนอ ซึ่งถ้าทำตามขั้นตอนแล้วรับรองว่า จะทำให้คุณกลายเป็น เศรษฐีเงินออมได้แน่นอน    
วิธีการออมเงินให้ประสบผลสำเร็จ 12 จะมีทั้งหมดขั้นตอนคือ..
(Money Saving)
1. กำจัดหนี้ก่อน : คำนวณดูว่าเรามีหนี้ทั้งหมดเท่าไหร่ และหาวิธีการใช้หนี้ให้เร็วที่สุด เพราะหนี้มักมาพร้อมกับดอกเบี้ยที่สูงโดยเฉพาะหนี้บัตรเครดิต และถ้าเคลียร์หนี้หมดเท่าไหร่ดอกเบี้ยที่จะก็จะกลายเป็นเงินออม  แต่อย่าลืมว่าสิ่งหนึ่งที่ควรให้ความสำคัญก่อนที่จะใช้หนี้ให้หมดก็คือ เงินกองทุนฉุกเฉิน
2. ตั้งเป้าหมาย : การลงมือออมโดยไร้เป้าหมาย เป็นการยากที่จะสัมฤทธิ์ผล เพราะคนเราต้องชอบอะไรที่ท้าทาย และมีแรงจูงใจ แล้วเป้าหมายของการออมเงินคืออะไร เป้าหมายมีทั้งระยะสั้นและระยะยาว
** เป้าหมายระยะสั้นเป็นสิ่งที่ทำได้ง่าย เช่น ถ้าผู้รักการออมอยากได้รถยนต์ เราก็ต้องคำนวณว่ารถยนต์ที่เราอยากได้ต้องใช้เงินออมเท่าไหร่ ราคาของรถยนต์ก็คือเป้าหมายของเรานั่นเอง
** เป้าหมายระยะยาว เช่น เงินออมสำหรับเกษียณ ต้องใช้การวางแผนว่า ระยะยาวหลังเกษียณ 20 -30 ปี จำนวนเงินออมที่เราต้องการสำหรับการอยู่อย่างสะดวกสะบายนั้เป็นเท่าไหร่ และเราต้องศึกษาต่อว่าเราจะเอาเงินออมไปลงทุนอะไรเพื่อจะได้บรรลุวัตถุ ประสงค์ที่เราตั้งไว้

3. กำหนดระยะเวลา : กำหนดระยะเวลาให้แน่นอนว่า เป้าหมายที่เราตั้งไว้ในข้อที่แล้ว ต้องใช้เวลาในการออมเงินเท่าไหร่ การกำหนดเวลาไม่ควรกำหนดระยะเวลาที่เป็นไปไม่ได้ ซึ่งการกำหนดแบบนั้นจะทำให้ผู้รักการออมเกิดความท้อใจที่จะออมเงิน

4. แจกแจงรายละเอียดออกมาว่า “เป้าหมาย” นั้นเมื่อแจกแจงออกมาแล้ว เราต้องออมเงินวันละเท่าไหร่, สัปดาห์ละเท่าไหร่ หรือเดือนละเท่าไหร่ : เช่น ถ้าผู้รักการออมตั้งเป้าหมายว่า จะต้องมีเงินออมที่สามารถดาวน์บ้านได้ภายใน 3 ปี และบ้านที่เราต้องการนั้นใช้เงินดาวน์ประมาณ 300,000 บาท เราก็สามารถแจกแจงได้ว่า 3 ปี (36 เดือน) เราต้องออมเงินให้ได้เดือนละ 8,333 บาท เป็นต้น

5. ทำบัญชีรายรับ-รายจ่าย : เพื่อให้การออมเงินประสบผลสำเร็จ ผู้รักการออมต้องบันทึกรายรับ – จ่ายของตัวเองไว้ตลอด
6. ลดรายจ่าย : หลังจากที่ผู้รักการออมทำบัญชีรายรับ – รายจ่ายไปได้ ไปได้สักเดือนหรือสองเดือนแล้ว ผู้รักการออมอาจจะแปลกใจกับรายจ่ายบางรายการเช่น ค่าไอครีม 199 บาท ? ค่าอาหารมื้อละ 300-500 เป็นต้น เมื่อพิจารณาอย่างละเอียดแล้วให้ผู้รักการออมจัดลำดับความสำคัญของแต่ละ รายการ และดูว่ารายการไหนสามารถตัดออกได้บ้าง เช่น ค่าไอศรีม หรือ ค่าอาหารอาจจะไม่จำเป็ต้อง ออกไปทานนอกบ้านหรือทานอาหารตามสั่งเป็นต้น ยิ่งผู้รักการออมตัดรายจ่ายไปได้มากเท่าไหร่ก็จะมีเงินเหลือออมมากขึ้นเท่า นั้น

7. ประเมินเป้าหมายการออมเงิน : พิจารณาดูว่าเรามีเป้าหมายการออมเพื่ออะไร เพื่อสร้างแรงจูงใจ เพื่อให้เป้าหมายสำเร็จ อาจจะต้องตัด หรือ ปรับอะไรบางอย่าง (ในขั้นนี้พิจารณาถึงสิ่งที่เราจำเป็นต้องใช้ในการดำเนินชีวิตซึ่งขาดไม่ได้จริงๆ) เช่น ถ้าเรามีโครงการจะเปลี่ยนรถ เราอาจจะพิจารณาว่าสามารถเลื่อนออกไปได้หรือไม่ ในกรณีที่รถคันเดิมยังใช้งานได้ดีอยู่ หรือ จริงๆ แล้วต้องการดูทีวี แต่อาจจะไม่จำเป็นที่ต้องมีขนาดใหญ่มากก็ได้ เป็นต้น ซึ่งการทำเช่นนี้จะทำให้บรรลุเป้าหมายในการออมได้ดีขึ้น

8. จัดทำงบประมาณ : จัดการทำงบประมาณของรายรับที่มี ออกเป็น 2 ส่วนคือ ส่วนที่จะออมและส่วนที่จะเก็บไว้เพื่อใช้จ่าย พร้อมกันนี้ก็เขียนรายละเอียดลงไปว่าเรามีงบประมาณที่จะใช้จ่ายในแต่ละสิ่ง หรือ แต่ละกิจกรรมเท่าไหร่ เช่น เรามีงบประมาณสำหรักิจกรรมบันเทิง เช่น ดู หนัง หรือ ฟังเพลงเท่าไหร่ ซึ่งการทำเช่นนี้จะทำให้เราควบคุมการใช้จ่ายได้ง่ายขึ้น ซึ่งจะทำให้ผู้รักการออมบรรลุเป้าหมายที่ตั้งไว้

9. เลิกใช้จ่ายผ่านบัตรเครดิต : ซื้อสิ่งที่ต้องการด้วยเงินสด โดยเลิกการใช้จ่ายผ่านบัตรเครดิตหรือเช็ค เพราะเมื่อเราใช้จ่ายผ่านกรรมวิธีดังกล่าว เราจะไม่รู้สึกว่าเราใช้จ่ายไปเท่าไหร่ จึงทำให้โอกาสที่เราจะใช้จ่ายเกินงบที่เราตั้งใจไว้ แต่ถ้าเราใช้จ่ายเป็นเงินสดเราจะเห็นได้ว่าเงินที่เรามีอยู่นั้นหายไปจริงๆ ซึ่งจะทำให้เรามีวิจารณาญาณในการใช้จ่ายมากขึ้น แต่จริงๆแล้วบัตรเครดิตไม่ใช่ว่าจะเป็นสิ่งไม่ดี เพราะถ้าเรามีวินัยในการใช้จ่ายเพียงพอเราก็สามารถใช้ปรโยชน์จากบัตรเครดิตได้เหมือนกัน เช่น การสะสมแต้ม เงินตีกลับ หรือ กระทั่งความปลอดภัยที่มากกว่าถือเงินสด แต่สำหรับคนไม่มีวินัยในการออมที่เพียงพอ บัตรเครดิตถือเป็นสิ่งต้องห้ามสำหรับการออมเงินอย่างหนึ่งเลยทีเดียว

10. แยกบัญชีที่ใช้ออมเงินไว้ต่างหาก : ถ้าเราเก็บเงินออมไว้บัญชีเดียวกับเงินสำหรับใช้จ่ายก็มีโอกาสที่เราจะใช้จ่ายเกินงบมีมากขึ้น รวมทั้งทำให้เราติดตามความคืบหน้าของจำนวนเงินออมของเราได้ยากขึ้น เพราะฉะนั้นควรจะเก็บเงินออมไว้ในบัญชีแยกต่างหาก และควรจะเป็นบัญชีที่ให้ดอกเบี้ยสูง เช่น ฝากประจำ หรือ ฝากประจำรายเดือน ที่บังคับให้เราต้องใส่เงินเข้าไปในบัญชีเงินออมทุกเดือน

11. ออมก่อนใช้ : สิ่งหนี่งที่ทำให้หลายๆคนล้มเหลวในการออมเงินคือ การใช้ก่อนแล้วออมทีหลัง เพราะถ้าเราคิดว่าสิ้นเดือนค่อยเก็บเงินที่เหลือไว้ออม ซึ่งปกติแล้วการกระทำแบบนี้มักลงเอยด้วยการไม่มีเงินเหลือไว้ออมเลย หรือถ้าเหลือก็เป็นจำนวนน้อย ทางออกก็ง่ายๆเลยถ้าเราคำนวนไว้ดีแล้วว่าเราจะออมเดือนละเท่าไหร่ พอเงินเดือนออกแล้วก็ฝากเงินจำนวนดังกล่าวเข้าบัญชีที่เราเปิดไว้ในขั้นตอนที่แล้วทันที

12. อย่าท้อถอยหรือยอมแพ้ : เป้าหมายในการออมเงินระยะยาวนั้นเป็นเป้าหมายที่ต้องใช้เวลา เพราะฉะนั้นก็อย่าได้ยอมแพ้หรือท้อถอยต่ออุปสรรค และเมื่อเราออมเงินไประยะเวลาหนึ่งแล้ว ก็อาจจะทำให้เรามีเงินจำนวนหนึ่งซึ่งมากพอ ซึ่งเงินนั้นเพียงพอให้ซื้อสิ่งที่เราอยากได้ในระยะสั้น และเราอาจจะเผลอซื้อสิ่งที่เป็นเป้าหมายระยะสั้นไป เช่น เรามีเป้าหมาย 2 อย่าง คือ บ้าน และรถยนต์ที่เป็นคู่แข่งกันอยู่ สุดท้ายเราตัดสินใจออมเงินโดยมีเป้าหมายที่จะซื้อบ้าน แต่เมื่อเราออมเงินมาได้ระยะหนึ่งซึ่งมากพอที่จะซื้อรถยนต์ได้ เราก็อาจจะนำเงินออมจำนวนดังกล่าวไปซื้อรถยนต์แทนเป็นต้น ซึ่งการออมเงินที่เป็นเป้าหมายระยะยาวแล้ว ต้องใช้ความอดทนและวินัยอย่างมาก แต่จงจำไว้ว่า สิ่งดีๆมักต้องใช้เวลานาน เรายิ่งออมเป็นระยะเวลายาวนานเท่าไหร่ดอกเบี้ยก็จะช่วยเราทำงานได้มากขึ้นเท่านั้น