Custom Search

บทความที่ได้รับความนิยม

Wikipedia

ผลการค้นหา

วันศุกร์ที่ 2 กันยายน พ.ศ. 2565

พายุลูกเห็บยักษ์ถล่มสเปนในแคว้นคาตาลูญญา ส่งผลให้เด็กหญิง ถูกลูกเห็บยักษ์ตกใส่ศีรษะชักดิ้นชักงอ เสียชีวิตทันที

👉🏿พายุลูกเห็บยักษ์ถล่มสเปนในแคว้นคาตาลูญญา ส่งผลให้เด็กหญิง ถูกลูกเห็บยักษ์ตกใส่ศีรษะชักดิ้นชักงอ เสียชีวิตทันที

ปรากฏการณ์ธรรมชาติที่น่ากลัวมากเลยนะครับสำหรับลูกเห็บยักษ์ที่ถล่มสเปนลูกเล็กกว่าลูกมะพร้าวย่อมๆหล่นลงมาเป็นห่าฝนลูกเห็บยักษ์ถล่มรุนแรงพัดถล่มหลายพื้นที่ในแคว้นคาตาลูญญา ของสเปน ส่งผลให้เด็กหญิงวัย 20 เดือน เสียชีวิตหลังจากลูกเห็บตกใส่ศีรษะ

โลกเรามันมีอะไรวิปริตวิปลาสไปหมดแล้ว ทุกวันนี้ภัยอันตรายธรรมชาติทั้งโรคระบาด มันทำให้มนุษย์มีความกังวลและไม่มีความ อยู่แบบมีแต่ความกลัวกลัวไปหมดทุกอย่าง

ภาวะโลกแปรปรวนโลกร้อนส่วนหนึ่งเกิดมาจากน้ำมือมนุษย์การพัฒนาแบบไม่มีการป้องกันหรือไม่มีการวางแผนนำพาไปสู่ความเสื่อมและหายนะของโลกและชีวิตของมนุษย์

พายุลูกเห็บรุนแรงพัดถล่มหลายพื้นที่ในแคว้นคาตาลูญญา ของสเปน ส่งผลให้เด็กหญิงวัย 20 เดือน เสียชีวิตหลังจากลูกเห็บตกใส่ศีรษะ และมีรายงานผู้ได้รับบาดเจ็บอีกราว 50 คน

พื้นที่ส่วนใหญ่ของสเปนกำลังเผชิญภัยแล้ง ซึ่งสภาพอากาศที่ร้อนผิดปกตินี้ทำให้มีแนวโน้มเกิดพายุเขตร้อนรุนแรงได้มากขึ้น ข้อมูลจากกรมอุตุนิยมวิทยา ระบุว่า พายุลูกเห็บส่วนใหญ่มักเกิดขึ้นในช่วงที่มีพายุฝนฟ้าคะนองในฤดูร้อน

ลูกเห็บ เกิดจากมวลอากาศร้อนที่ลอยตัวสูงขึ้นแล้วพัดพาเม็ดฝนลอยขึ้นไปปะทะกับมวลอากาศเย็นด้านบน จนเม็ดฝนจับตัวเป็นก้อนน้ำแข็งแล้วตกลงมาเจอมวลอากาศร้อนเบื้องล่าง ความชื้นจะเข้าไปห่อหุ้มเม็ดน้ำแข็งให้เพิ่มขนาดใหญ่ขึ้น

เมื่อกระแสลมพัดพาเม็ดน้ำแข็งให้เคลื่อนไปมาในระหว่างชั้นมวลอากาศร้อนและมวลอากาศเย็นภายในกลุ่มเมฆ จึงกลายเป็นก้อนน้ำแข็งที่มีน้ำหนักมากขึ้น เมื่อกระแสลมไม่สามารถรับน้ำหนักได้จึงตกลงสู่พื้นดิน

ลูกเห็บมักมีขนาดเส้นผ่านศูนย์กลางประมาณ 2-3 มิลลิเมตร แต่อาจมีขนาดใหญ่ได้เท่าลูกเทนนิส หรือมากกว่านั้น ซึ่งจะสร้างความเสียหายให้กับชีวิตและทรัพย์สินของผู้คนที่อยู่ในพื้นที่เกิดพายุลูกเห็บ

สาระข้อมูลเพิ่มเติม

ลูกเห็บยักษ์(megacryometeor) เป็นหยาดน้ำฟ้าชนิดหนึ่งเป็นก้อนน้ำแข็งที่มีขนาดใหญ่กว่าลูกเห็บ เกิดขึ้นจากความผิดปกติของสภาพอากาศแจ่มใส ไม่มีเมฆ ไม่เกิดขึ้นจากพายุฝนฟ้าคะนอง



ประวัติ
จีซัส มาร์ตินีซ-ฟรายส์ นักธรณีวิทยาดาวเคราะห์จากศูนย์สิ่งมีชีวิตนอกโลกในกรุงมาดริดเป็นผู้บุกเบิกการวิจัยลูกเห็บยักษ์ตั้งแต่เดือนมกราคม พ.ศ. 2543 (ค.ศ. 2000) หลังจากที่ลูกเห็บยักษ์หนักประมาณ 3 กิโลกรัมตกในสเปนในขณะที่ท้องฟ้าแจ่มใสนานถึง 10 วัน

ขนาด
ลูกเห็บยักษ์กว่า 50 ลูกที่ได้รับการบันทึกตั้งแต่ปี พ.ศ. 2543 มีน้ำหนักตั้งแต่ 0.5-200 กิโลกรัม ลูกหนึ่งที่ตกในประเทศบราซิลหนักถึง 220 กิโลกรัม

ความรู้เกี่ยวกับลูกเห็บยักษ์
กระบวนการเกิดของลูกเห็บยักษ์ยังเป็นที่สงสัย สันนิษฐานว่าคล้ายกับการเกิดของลูกเห็บ และเกิดในฤดูร้อนขณะที่อากาศแจ่มใส

คลิปประกอบบทความ

การวิเคราะห์ลูกเห็บยักษ์แสดงองค์ประกอบเข้าคู่กับฝนในบริเวณที่มันตก ไม่ได้มาจากเครื่องบิน เพราะมีการบันทึกว่าเกิดปรากฏการณ์นี้ก่อนที่จะมีการประดิษฐ์เครื่องบิน ผลการทดสอบแรกบ่งชี้ว่าการผันแปรในช่องว่างโทรโพพอส(ช่องที่อยู่ระหว่างบรรยากาศชั้นโทรโพสเฟียร์กับสตราโตสเฟียร์) สามารถสอดคล้องกับการเกิดลูกเห็บยักษ์ มีบางครั้งผู้เห็นเหตุการณ์ก็คิดว่าเป็นอุกกาบาตเพราะลูกเห็บยักษ์สามารถทำให้เกิดหลุมขนาดเล็กๆ ได้